วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Mood Board

Mood Board 

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์



เกี่ยวกับ
งามตา มหัศจรรย์แห่งสบู่พิทักษ์ผิว
สินค้า OTOP ๕ ดาว & มาตรฐานระดับยุโรปโดยอ.ย.
(ผลิตภัณฑ์ งามตา สบู่สุคนธบำบัด ทุก ๆ สูตร ได้ทำการจดแจ้งเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางควบคุม ตาม พรบ. เรียบร้อยแล้ว ณ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข)


งามตา มหัศจรรย์แห่งสบู่พิทักษณ์ผิว
รายละเอียด  : งามตา สบู่สุคนธบำบัด เป็นผลิตภัณฑ์คัดสรร
ระดับ 5 ดาว รอบระดับประเทศ (OPC) ต่อเนื่องหลายสมัย จากการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ผสมผสานกับสารสกัดจากสมุนไพรไทยตามสูตรต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมของผู้ใช้ และช่วยลดปัญหาผิวพรรณที่ต่างกัน เพิ่มวิตามิน E เพื่อช่วยปกป้องผิวจากการทำลายของอนุมูลอิสระ กลิ่นหอมตามธรรมชาติของน้ำมันหอมระเหยที่ไม่ทำให้ระคายเคืองต่อระบบการหายใจ ไม่ปนเปื้อนสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ใด ๆ เลย แม้กระทั่งสารกันบูดก็ไม่ได้ใช้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ งามตา สบู่สุคนธบำบัดอยู่ในรูปการหีบห่อแบบสุญญากาศ

รางวัล
OTOP 5 ดาว 3 ปีซ้อน [ พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน OTOP Selected 
กระทรวงพาณิชย์
* มาตรฐาน euro standard [ มาตรฐานระดับยุโรป ] โดย อ.ย.



วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 2 ( 25 สิงหาคม 2557 )


สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 2 ( 25 สิงหาคม 2557 )
       สัปดาห์ที่ 2 ในการเรียนวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้สร้างไดร์ฟดึงสมาชิกเข้ากลุ่มเป็นธีมแล้วแชร์ไดร์ฟใหอาจารย์เพื่อดูการเคลื่อนไหวในกลุ่มว่าพัฒนาหรือป่าวสอบถามเรื่องเรียนกับอาจารย์ได้ที่
ID LINE : Prachid007เวลาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์หาอัตลักษณ์ของตัวเองสิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นตัวเราลายกราฟฟิกเปลี่ยนแปลงได้เสอมแต่บรรจุภัณฑ์จะเหมือนเดิมเป็นไปตามยุคและสมัยการทำสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเราต้องทดลองใช้กับตัวเองด้วยให้ได้รับรู้ถึง สี กลิ่น รส รูปทรง ต้องรู้ทุกรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์
       1.ต้องรู้เทคนิกการพิมพ์
       2.การใช้ค่าของสีที่จะพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์
       3.เรื่องฟอนต์ที่จะใช้ในการออกแบบ
       4.สีและรูปทรงของบรรจุภัณฑ์
       เทคนิกการพิมพ์ และ กระบวนการการผลิต
และได้เดินตรวจงานตามกลุ่มเรียนเกี่ยวกับบรรจภัณฑ์ที่นักศึกษาได้ไปหามาในงาน OTOP ได้แนะแนวทางในการที่จะออกแบบแต่ละครั้งควรรูทุกอย่างเกี่ยวกับสินค้าโดยละเอียดและต้องเรียนรู้ศัพท์ที่ต้องคุยกับโรงงานเพื่อจะสั่งพิมพ์และศัพท์ชาวบ้านเพื่อที่ลงพื้นที่จะได้คุยสอบถามปัญหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น



รูปภาพประกอบ
ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย





การบ้านที่ได้รับมอบหมาย
1.ให้นักศึกษาไปโหลดแบบข้อมูลสอบถาม (กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย)
2.ให้นักศึกษาดูโคร้งสร้างตัวผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาพร้อม Sketch 
3.Sketchทุกรายละเอียดของสินค้าลงสมุด ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง ต้องรู้จักสินค้า
4.ศึกษารหัสแท่งบาร์โค้ด
5.ให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่ม พร้อมส่งมูดบอร์ดเพื่อรายงานอาทิตย์หน้า
สิ่งที่ต้องเตรียมมา
1.กาวยู้ฮู
2.คัตเตอร์
3.แผ่นรองตัด
4.เทปใส
5.วงเวียน
6.สมุด sketch
7.ดินสอ 2B
8.แฟ้มใส่งาน 

 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://chainatotop.blogspot.com/

 ที่มาของภาพ : http://chainatotop.blogspot.com/
 ขอขอบคุณ : อาจารย์ประชิด ทิฑบุตร ผู้สอน

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่า"กราฟิก"การออกแบบกราฟิก และ การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

ความหมายของคำว่า"กราฟิก"การออกแบบกราฟิก และ การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์
 ความหมายของกราฟิก
ตัวอย่างหนังสือ

            

               
หนังสือ "การออกแบบกราฟฟิก"Graphic Design,ผู้เขียน ประชิด ทิณบุตร

               กราฟิก หมายถึง การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ ทั้งสีและขาว-ดำ ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจ ความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการคอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มต้นมาจากการเป็น เทคนิคอย่างหนึ่งในการแสดงข้อมูลตัวเลข จำนวนมาก ๆ ให้อยู่ในรูปที่ชัดเจนกว่าเดิมและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น ข้อมูลอาจแสดงได้ ในรูปของเส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข จากนั้น การใช้ภาพกราฟิก แสดงผลแทนข้อมูลหรือข่าวสารที่ยุ่งยากก็มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิก ในงานทุก ๆ ด้าน ไม่ว่า ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม และงานทางการแพทย์ จนเห็นได้ชัดเจนว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นเริ่มมีความ สำคัญ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงาน              ในการออกแบบทางด้านกราฟิกให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือจำนวนมาก อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของ ตนเองได้ทันทีหลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์ สีมีความสำคัญอย่างมากต่องานกราฟิก สีทำให้ภาพหรือสิ่งต่าง ๆ มีความสดใส สวยงามน่าสนใจ ในการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานกราฟิก ควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่ จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานกราฟิก ให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มาก ที่สุดความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิค ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิก วัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น กราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้นวัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็วประเภทของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกมีหลายประเภทซึ่งสามารถจำแนกออกได้ตามแนวคิดของ วิททิช และชูลเลอร์ ซึ่งได้แบ่งวัสดุกราฟิกไว้เป็น 8 ประเภทดังนี้ แผนภูมิ(Chart) แผนภาพ (Diagrams) แผนสถิติ(Graphs) ภาพโฆษณา (Posters) การ์ตูน(Cartoons) แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปภาพ(Photographic)

การออกแบบกราฟิก
            การออกแบบกราฟิกและสื่อเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการงานกราฟิก งานทางด้านสิ่งพิมพ์ โดยมีหลักการคิดและวิธีการดำเนินการที่ต้องอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ สื่อความหมาย หลักการทางศิลปะประยุกต์และทฤษฎีการรับรู้ทางจิตวิทยา การออกแบบงานกราฟิกจึงต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
2. ความกลมกลืน (harmony)
3. ความมีสัดส่วนที่สวยงาม (propertion)
4. ความมีสมดุล (balance)
5. ความมีจุดเด่น (emphasis)
องค์ประกอบในการออกแบบงานกราฟิกและสื่อ
ส่วนสำคัญที่จะสร้างสรรค์ความสุนทรีย์บนงานออกแบบ มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ
1. อักษรและตัวพิมพ์
ในการเลือกใช้ตัวอักษรให้มีความเหมาะสมกับงานที่ออกแบบ ผู้ออกแบบควรได้พิจารณาถึงรูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร รูปร่างลักษณะของตัวอักษร การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง การกำหนดสี และการจัดวางตำแหน่งให้มีความสมดุลเหมาะสมพอดี
2. ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพ
ภาพและส่วนประกอบตกแ่ต่งภาพ ที่ต้องการเน้นให้เกิดคุณค่าทางความงาม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบ และนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมดาตามความคิดของตน เพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิผลในการสื่อสารมากที่สุด
งานออกแบบที่ดีควรนำภาพมาใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและหน้าที่อย่างกลมกลืน คือ
2.1 เมื่อต้องการดึงดูดความสนใจ
2.2 เมื่อต้องการใช้ประกอบการอธิบายความรู้
2.3 เมื่อต้องการคำอธิบายความคิดรวบยอด
2.4 เมื่อต้องการอ้างอิงสิ่งที่ปรากฏขึ้นจริง
2.5 เมื่อต้องการใช้ประกอบข้อมูลทางสถิติ
คุณค่าและความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิกและสื่อ
งานกราฟิกที่ดีจะต้องทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ มีคุณค่าและความสำคัญในตัวเองที่แสดงออกได้ ดังนี้
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ถูกต้องและชัดเจน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยทำให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม และพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การวางแผนการผลิตและขั้นตอนในการออกแบบงานกราฟิกและสื่อ
ในการออกแบบงานกราฟิก ควรมีการวางแผนและกำหนดขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบ เพื่อจะทำให้งานที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพดี โดยคำนึงถึงขั้นตอนที่ใช้ในการผลิตและการออกแบบ ดังนี้
1. ขั้นการคิด ต้องคิดว่า จะทำอะไร ทำเพื่อใคร ทำอย่างไร และการออกแบบอย่างไร
2. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เป็นการเสาะหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ด้วย
3. ขั้นการร่างหรือสร้างหุ่นจำลอง โดยการเขียนภาพคร่าว ๆ หลาย ๆ ภาพ แล้วเลือกเอาภาพที่ดีที่สุด
4. ขั้นการลงมือสร้างงาน เป็นการขยายผลงานด้วยวัสดุและวิธีการที่เตรียมไว้
5. หลักที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี

การออกแบบงานกราฟิกและสื่อ ควรจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1. ความมีเอกภาพ (unity)
ตัวอักษรจะทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม มีความชัดเจน การออกแบบ การเลือกแบบตลอดจนการกำหนดรูปแบบของตัวอักษรที่จะนำมาใช้ ต้องมีลักษณะเด่น อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ ลักษณะที่แตกต่างของตัวอักษร จึงต้องกำหนดตามสภาวะการนำไปใช้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง หรือชื่อสินค้า จะต้องเน้นความโดดเด่นของรูปแบบมากที่สุดและส่วนที่เป็นข้อความหรือเนื้อหา ที่ต้องการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ นิยมใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบเรียบง่ายสะดวกในการอ่านมากที่สุด


ภาพประกอบ








การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์
          งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้ายบรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ โฆษณา ภาพยนต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
          วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย สัญญลักษณ์ รูปแบบ ขนาดตัวอักษร มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย
ความหมายของการออกแบบกราฟิก
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ งานกราฟิกมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาจะโน้มน้าวจิตใจได้ดีกว่าการรับรู้ประเภทอื่น งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบกราฟิกด้วย เพื่อที่จะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


ภาพประกอบ




สรุปความหมายของคำว่า"กราฟิก"การออกแบบกราฟิก และ การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

         สรุปกราฟิกคือการวาดและการเขียนมีการใช้ศิลปะใช้เส้นวาดและเขียนเป็นแผนภาพตราสัญลักษณ์ต่างๆมีทั้งขาวและดำตรงตามที่ผู้สือสารต้องการที่จะสือออกไปในรูปแบบเส้นกราฟ  แผนภูมิ  แผนภาพ ปัจจุบันกราฟฟิกอยู่ในงานทุกด้านไม่ว่าจะ ศิลปะ  การบันเทิง  งานโฆษณา  การศึกษาและการวิจัย 
งานกราฟฟิกสีเป็นสิ่งสำคัญต่อการออกแบบสามารถตอบสนองได้ตรงเป้าหมาย
         สรุปการออกแบบกราฟิกการออกแบบกราฟฟิกสื่อเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานต้องอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อความหมายทางศิลปะพื้นฐานองค์ประกอบต้องมีความกลมกลืน  สัดส่วน สมดุลและมีจุดเด่นอักษรควรจัดวางตำแหน่งให้สมดุลเหมาะสมงานออกแบบที่ดีต้องดึงดูดความน่าสนใจ อ่านง่าย สวยงาม ชัดเจน เรียบง่าย 
         สรุปการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการออกแบบที่ต้องการสัมผัสด้วยตาองค์ประกอบศิลป์คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิวบรรจุภัณฑ์ต้องออกแบบให้จำได้ง่ายมีกราฟฟิกที่สะดุดตาโดยไม่ต้องให้กลุ่มเป้าหมายมาองหา ณ จุดขายเข้าใจง่ายสบายตามีความสวยงาม ชวนมองใช้งานได้ง่าย สะดวก ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

แหล่งอ้างอิงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
หนังสือ "การออกแบบกราฟฟิก"Graphic Design,ผู้เขียน ประชิด ทิณบุตร สำนักพิมพ์ : โอเดียนสโตร์ 
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 จำนวน 2,000 เล่ม (สงวนลิขสิทธิ์)

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 1 วันที่ 18 สิงหาคม 2557



สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 1 (18 สิงหาคม 2557 )

             สัปดาห์แรกในการเรียนวิชา การออกแบบกราฟิกเพื่อบรรจุภัณฑ์ อาจารย์ชี้แจงหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการเรียนและให้ นศ. ทำแบบสำรวจการออบแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสหกิจชุมชน จ. ชัยนาท และให้ นศ. แบ่งกลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 6 คน 8 กลุ่ม กลุ่มละอำเภอ
โปรแกรมที่เราจะต้องเรียน 
1.Sketch Up 
2.Illastrator CS6 
3.CorelDraw 
4.Rhino 3D*



และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมา 
1.สมุดจดบันทึก 
2.ดินสอ 2B ปากกา 
3.อุปกรณ์การวัดสายวัด/ไม้บรรทัด
4.กระดาษ A4
5.แผ่นรองตัด
6.วงเวียน
7.คัตเตอร์
8.สายวัดพกพาสะดวก
 และให้ นศ. ไปสมัคร Pinterest เพื่อทำบอร์ดของตนเองลงแบบสเก็ตการนำเสนองานต้องมีมูดบอร์ดทุกครั้ง* 




การบ้าน
1.ให้เรียนรู้หาความหมายของคำว่า "กราฟิก" , "การออกแบบกราฟิก" , "การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์"    เขียนสรุปด้วยตนเองยกตัวอย่างไม่เกิน3บรรทัด พร้อมทั้งมีภาพประกอบและอ้างอิงให้ถูกต้องมาจาก          แหล่งต่างๆอย่างน้อย3 แหล่ง และจากหนังสืออย่างน้อย1เล่ม ถ่ายหน้าปกชื่อหนังสือ ข้อมูลบรรณานุกรม    และสารบัญ ทำในบล็อคของตนเองประมาณ 1 หน้าเพจ
2.เขียนบทความแปลสรุปข่าวทุกอาทิตย์ตามเลขที่ อาทิตย์ล่ะ 3 คนคนละ 5 นาที
   หาข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.thedieline.com/
3.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน 8 กลุ่ม แบ่งกันทำแบบสำรวจ การวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์            สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท จำนวน 16 ฉบับ
4.สัปดาห์หน้าให้สมาชิกในกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับสินค้าการเกษตรวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาทประเภท            สุขภาพและความงาม โดยหา ผลิตภัณฑ์สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม พร้อมทำการค้นคว้าเกี่ยว    กับผลิตภัณฑ์